กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเพียเจต์
ประวัติของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget)
ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ
เป็นลำดับขั้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น
ดังนี้
1.1)
ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motorb
Stage)ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด(Preoperational Stage)
ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น
·
ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เด็กอายุ 2-4 ปี
·
ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive Thought) เด็ก อายุ 4-7 ปี
1.3 )
ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation
Stage)
ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
ประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6
ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences)
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree)
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation)
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function)
6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation)
3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)
3.2) การปรับและจัดระบบ (accommodation)
3.3) การเกิดความสมดุล (equilibration)
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา /
การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน
ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
1. นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกันนักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์
2 แบบคือ
·
ประสบการณ์ทางกายภาพ
(physical experiences)
·
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences)
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
·
เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
·
เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
·
เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
·
เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
·
ใช้กิจกรรมขัดแย้ง
(cognitive conflict
activities)
3.การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
·
ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
·
ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
·
ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
·
เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่
เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
·
ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
4.ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
·
มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
·
พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
·
ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น
สรุปว่า
พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่
แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น